โรคกรดไหลย้อน เป็นภาวะที่กรดจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปยังหลอดอาหาร (esophagus) เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร (lower esophageal sphincter : LES) ซึ่งปกติแล้วจะป้องกันไม่ให้กรดจากกระเพาะไหลย้อนขึ้นมา หากเกิดบ่อย ๆ หรือต่อเนื่อง อาจส่งผลเกิดโรคอื่น ๆ ตามมาในระยะยาว

สาเหตุ

  • ความดันที่เพิ่มขึ้นในกระเพาะอาหาร เช่น จากการตั้งครรภ์ การอาเจียน สามารถดันกรดในกระเพาะอาหารให้ไหลย้อนขึ้นมา
  • อาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น อาหารรสจัด แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต และคาเฟอีน
  • การทานยาบางชนิดที่ส่งผลต่อการทำงานของ LES หรือกรดในกระเพาะอาหาร เช่น ยาปฏิชีวนะ ยาแก้ปวด และยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรังจากภูมิคุ้มกัน
  • การสูบบุหรี่
  • การเกิดโรคไส้เลื่อนกระบังลม เป็นภาวะที่เกิดจากส่วนบนของกระเพาะอาหารยื่นเข้าไปในช่องอก
  • การทานอาหารมาก ๆ แล้วนอนทันที
  • น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นสามารถเพิ่มความดันในช่องท้อง ทำให้กรดมีโอกาสไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร
  • สาเหตุอื่น ๆ เช่น อายุ การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน หรือปัจจัยทางพันธุกรรมบางอย่าง

อาการ

  • รู้สึกจุกเสียดท้องหรือแสบร้อนที่ลำคอรวมถึงหน้าอกบน มักเกิดหลังทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้น และจะมีอาการมากขึ้นเมื่อนอนตะแคง
  • รสเปรี้ยวหรือขมในปาก เรอเปรี้ยว ซึ่งบางครั้งกรดจะไหลย้อนมาถึงปาก
  • การไอโดยเฉพาะในช่วงก่อนนอนหรือหลังการทานอาหาร
  • ปวดหน้าอก มักมีความรู้สึกคล้าย ๆ กับอาการเจ็บปวดจากโรคหัวใจ ทำให้บางครั้งอาจยากที่จะแยกว่าปวดจากกรดไหลย้อนหรือโรคหัวใจ
  • มีเสียงแหบหรือเสียงเปลี่ยน เวลากลืนอาหารรู้สึกว่ามีอะไรติดที่ลำคอ
  • รู้สึกเจ็บหน้าอกหรือแสบร้อนในลำคอ
  • บางครั้งกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาอาจทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้รู้สึกเจ็บหรือมีปัญหาเวลากลืน
  • กรดที่ไหลย้อนขึ้นมาอาจเข้าสู่หลอดลมและทำให้ระบบทางเดินหายใจมีปัญหา มีอาการไอ หอบหืด หรืออื่น ๆ

การวินิจฉัย

  • การซักประวัติ
  • การตรวจพิเศษด้วยกล้อง (endoscopy) เพื่อดูสภาพของเยื่อบุหลอดเพาะอาหาร
  • การตรวจ pH monitoring
  • การตรวจ Esophageal manometry
  • การตรวจ X-ray
  • การตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ

ข้อสรุปสำคัญ

การรู้ถึงปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคกรดไหลย้อนสามารถช่วยป้องกันโรคนี้ได้ ในการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและสาเหตุของโรค เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหาร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำรงชีวิต การใช้ยาลดกรด และกรณีที่รุนแรงหรือมีแผลเกิดขึ้นอาจจำเป็นต้องรับการผ่าตัด ในท้ายที่สุด หากพบว่ามีอาการที่เหล่านี้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำที่ถูกต้อง

Related Posts